วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประวัติหนูน้อยโกลเด้น


โกลเด้นเป็นสุนัขที่มีถิ่นกำเนิดจากเมืองผู้ดี อังกฤษและสก็อตแลนด์ในราวศตวรรษที่ 19 ได้จากการผสมพันธุ์สุนัขระหว่างพันธุ์นิวฟาวแลนด์ขนเรียบสีเหลืองกับ ทวีดวอร์เตอร์ สแปเนียล ภายหลังได้ผสมกับพันธุ์ไอริช เว็ทเตอร์ บลัดฮาวด์ และ วอเตอร์ สแปเนียล เดิมเป็นสุนัขที่ใช้ในกีฬาล่าสัตว์ โดยนายพรานจะใช้มันชี้รอยตามรอย และเก็บเป็ดน้ำที่ยิงได้กลับมา


  


 ลักษณะทั่วไป
     สุนัขขนาดใหญ่ รักเด็ก ส่วนสูง น้ำหนัก วงจรชีวิต การจัดกลุ่มพันธุ์ 21.5- 24 นิ้ว 55- 75 ปอนด์ 12-14 ปี สุนัขที่ใช้ในกีฬาล่าสัตว์ โกลเด้น รีทรีฟเวอร์เป็นสุนัขขนาดใหญ่ที่มีความคล่องตัวสูง ขนชั้นในแน่น และกันน้ำได้ดีเช่นเดียวกัน มีขนปุกปุยหนาแน่นบริเวณคอ ด้านหลังขาหลัง และหาง และมีขนปุกปุยปานกลางบริเวณด้านหลังขาหน้าและท้อง สีของขนมีหลายเฉดสีต่างกันไป ตั้งแต่สีทองเข้มจนถึงทองเงา
     โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ เป็นสุนัขที่มีความเฉลียวฉลาดมากมากจนสามารถนำมาฝึกเพื่อใช้งานได้ เนื่องจากเป็นสุนัขที่มีขนาดไม่เล็กหรือไม่ใหญ่จนเกินไป จัดว่าเป็นสุนัขที่มีประสาทสัมผัสดีเลิศทั้งในด้านของการฟังเสียง การดมกลิ่นสะกดรอย นอกจากนี้ยังมีสายตาอันเฉียบคมและแม่นยำ ด้วยเหตุนี้วงการทหารและตำรวจในหลายๆ ประเทศจึงได้นำสุนัขพันธุ์นี้มาฝึกเพื่อไว้ช่วยงานราชการ อาทิเช่น ตรวจค้นยาเสพติด , ดมกลิ่นสะกดรอยคนร้าย, ยามรักษาความปลอดภัย แต่ที่ดูเหมือนจะได้รับความนิยมสูงสุด ก็เห็นจะได้แก่ฝึกให้เป็นสุนัขนำทางคนตาบอด ทั้งนี้เพราะโกลเด้น รีทรีฟเวอร์เป็นสุนัขซึ่งฉลาด แต่ไม่ค่อยเจ้าเล่ห์หรือซุกซนเหมือนสุนัขบางพันธุ์ ขนชั้นนอกแน่น เงา หยิกเป็นลอนเล็กน้อย และราบเรียบไปตามลำตัว กันน้ำได้ดี 

อุปนิสัย
     มีความกระตือรือร้นตลอดเวลา ค่อนข้างสงบเสงี่ยม ไม่ส่งเสียงโดยไม่มีเหตุผล มีขนาดปานกลาง ไม่เทอะทะเก้งก้างจนดูเกะกะ 

การตัดแต่งขนและการออกกำลังกาย
     เจ้าโกลเด้นเป็นสุนัขที่มีขนร่วงมาก จำเป็นจะต้องแปรงและหวีขนให้มันสัปดาห์ละหลายๆ ครั้ง มันจะมีความสุขมากๆ หากเจ้าของพามันไปเดินเล่นไกลๆ ทุกวันหรือหาสนามโล่งๆ ให้ได้วิ่งเล่นแบบสบายๆ ไร้กังวล ได้เล่นกับสุนัขตัวอื่น วิ่งเก็บลูกบอล หรือว่ายน้ำ
ข้อควรระวังเป็นพิเศษ
     ลูกสุนัขที่ได้มาจาการผสมพันธุ์ที่ไม่ดี จะมีนิสัยก้าวร้าว ซนอย่างร้ายกาจ กระตือรือร้นมากเกินไป และขี้โรค ปัญหาสุขภาพของสายพันธุ์ :โรคข้อสะโพกและข้อศอกห่าง โรคต้อกระจก โรคขาดฮอร์โมนไทรอยด์ โรคเนื้องอกในต่อมน้ำเหลือง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น